ร่าย
๑. ศรีสิทธิฤทธิไชย ไกรกรุงอดุงเดชฟุ้งฟ้า หล้ารรัว กลัวมหิมา รอาอานุภาพ ปราบทุกทิศ ฤทธิรุกราญ ผลาญ พระนคร รอนลาวกาวตาวตัดหัว ตัวกลิ้งกลาดดาษดวน ฝ่าย ข้างยวนแพ้พ่าย ฝ่ายข้างลาวประลัย ฝ่ายข้างไทยไชเยศ คืน ยังประเทศพิศาล สำราญราษฎร์สัมฤทธิ พิพิธราชสมบัติ พิพัฒนมงคล สรสกลีมา ประชากรเกษมสุข สนุกทั่วธรณี พระนครศรีอโยธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมยศโยคยิ่งหล้า ฟ้าฟื้นฟึกบูรณ์
ถอดความ
กรุงศรีอยุธยามีแสนยานุภาพเป็นที่เกรงขามของเมืองต่างๆ สามารถปราบปรามได้ราบคาบ
ปกครองบ้านเมืองอาณาประชาราษฎร์ให้อยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญงดงามสมบูรณ์เหมือนเมืองสวรรค์
โคลง ๔
๒. บุญเจ้าจอมโลกเลี้ยง โลกา
ระเรื่อยเกษมสุขพูล ใช่น้อย
แสนสนุกศรีอโยธยา ฤๅร่ำ ถึงเลย
ทุกประเทศชมค้อยค้อย กล่าวอ้างเยินยอ ฯ
ถอดความ
กรุงศรีอยุธยามีพระมหากษัตริย์ที่มากบุญยาบารมี ปกครองบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขจนเป็นที่
กล่าวขานกันไปทั่ว
๓. รู้มลักสรบศาสตร์ถ้วน หญิงชาย
จักกล่าวกลอนพระลอ เลิศผู้
ไพเราะเรียบบรรยาย เพราะยิ่ง เพราะนา
สมปี่ลู้เสียงลู้ ล่อเล้าโลมใจ ฯ
ถอดความ
ประชาชนทั้งหลายล้วนเก่งกาจสามารถทั้งด้านการทหารและวิชาการ ไม่อยากจะคุย แต่จะพูดถึงเรื่องลิลิตพระลอที่มีการแต่งไว้อย่างเพราะพริ้งเหมือนเสียงปี่อ่านแล้วมีความสุขทางใจ
๔. สรวลเสียงขับอ่านอ้าง ใดปาน
ฟังเสนาะใดปูน เปรียบได้
เกลากลอนกล่าวกลการ กลกล่อม ใจนา
ถวายบำเรอท้าวไท้ ธิราชผู้มีบุญฯ
ถอดความ
เป็นกวีนิพนธ์ที่ไพเราะมากหาอะไรมาเปรียบไม่มี แต่งขึ้นเพื่อถวายพระมหากษัตริย์
เพื่อความเพลิดเพลิน
รูปแบบการประพันธ์หรือฉันทลักษณ์ในการแต่ง
เป็นร่ายจำนวน ๑ บท โคลงสี่สุภาพจำนวน ๓ บท ถูกต้องตามฉันทลักษณ์
ธรรมเนียมนิยมในการแต่ง
๑. การสัมผัสอักษร สัมผัสสระ เพื่อความไพเราะ การแต่งโคลง และร่ายมีลักษณะคล้ายกันครับ
บทที่ ๒ เจ้า-จอม, โลก-เลี้ยง-โลกา, ระ-เรื่อย และ แสน-สนุก
บทที่ ๓ สรบ-ศาสตร์, กล่าว-กลอน และ ล่อ-เล้า-โลม
บทที่ ๔ สรวล-เสียง, อ่าน-อ้าง, ปูน-เปรียบ, เกลา-กลอน-กล่าว-กล-การ-กล-กล่อม
และท้าว-ไท้-ธิราช
๒. การเลือกใช้คำประพันธ์
๒.๑ เลือกคำที่มีเสียงเสนาะ แฝงลีลา จังหวะอ่อนเนิบ นิ่มนวลหรือเร่งเร้า รุนแรง เช่น อุเหม่..(โกรธ)
... ผลาญ พระนคร รอนลาวกาวตาวตัดหัว ตัวกลิ้งกลาดดาษดวน...
ระเรื่อยเกษมสุขพูล ล่อเล้าโลมใจ เกลากลอนกล่าวกลการ กลกล่อม ใจนา
๒.๒ การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น ออดแอดแอดออดยอดไกว
สมปี่ลู้เสียงลู้ ล่อเล้าโลมใจ
๒.๓ ใช้คำน้อยแต่กินความมาก เช่น อันของสูงแม้ปองต้องจิต
บุญเจ้าจอมโลกเลี้ยง โลกา
๒.๔ การเล่นคำ คือใช้คำซ้ำ เช่น เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง...
ทุกประเทศชมค้อยค้อย กล่าวอ้างเยินยอ และ สมปี่ลู้เสียงลู้ ล่อเล้าโลมใจ
๒.๕ การใช้คำอัพภาส เช่น ริก เป็นระริก ยิ้ม เป็น ยะยิ้ม แย้ม เป็น ยะแย้ม
ระเรื่อยเกษมสุขพูล ใช่น้อย จากเรื่อยเป็น ระเรื่อย ครับ
๒.๖ การเล่นเสียงวรรณยุกต์ ไล่ระดับมีความไพเราะคล้ายเสียงคนตรี
สมปี่ลู้เสียงลู้ ล่อเล้าโลมใจ และ สรวลเสียงขับอ่านอ้าง ใดปาน
๓. กวีโวหารและสำนวนโวหาร
๓.๑ การเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปไมย ตอนนี้ไม่มีครับ
๓.๒ การใช้บุคลาธิษฐาน คือธรรมชาติเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ ตอนนี้ไม่มีครับ
๓.๓ การใช้สัญลักษณ์ เช่นดอกกุหลาบแทนความรัก ตอนนี้ไม่มีครับ
๓.๔ การกล่าวเท็จ หรือพูดเกินจริง
บุญเจ้าจอมโลกเลี้ยง โลกา เป็นทั้งเจ้าโลก แถมยังเลี้ยงดูคนทั้งโลกอีก จะไม่เท็จอย่างไรไหว
๓.๕ การใช้โวหารปฏิพากย์ คือคำที่มีความหมายเป็นตรงกันข้าม ตอนนี้ไม่มีครับ
๔. สาระของเนื้อหา
ประโยชน์อันเป็นผลพลอยได้ที่ได้รับจากวรรณกรรม นอกเหนือจากความบันเทิงใจ
๑. แนวคิดและค่านิยมที่เป็นประโยชน์ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
ในอดีตเจ้าเมืองต่างๆ มักนิยมทำสงครามขยายดินแดน เพื่อแสดงแสนยานุภาพ
๒. สาระ หลักฐานความเป็นจริง อาทิ ทัศนคติ ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ
กษัตริย์ นอกจากจะทำสงคราม มีความสามารถในการรบแล้ว ก็ยังมีสุนทรียภาพกับกวีนิพนธ์ด้วย
ลิลิตพระลอ เป็นยอดแห่งวรรณคดีประเภทลิลิต เป็นเรื่องราวของโศกนาฏกรรมแห่งความรัก ระหว่างพระลอ และพระเพื่อนพระแพง
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ตอนที่ ๑ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ตอนที่ ๑ แสดงบทความทั้งหมด
วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ตอนที่ ๑ บทที่ ๑ – ๔ - บทสรรเสริญกรุงศรีอยุธยา (ปรับปรุง)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)