ร่าย
๘ ส่วนนรินทรราชา พิมพิสาครราช พระบาทครั้นได้ยิน ว่าภูมินทร์แมนสรวง ยกทัพหลวงมากระทั่ง
ท้าวธก็สั่งพลออกรับ ตับตามกันเดียรดาษ พระบาทเสด็จบ่มิช้า พลหัวหน้าพะกัน แกว่งตาวฟันฉะฉาด
แกว่งดาบฟาดฉะฉัด ซ้องหอกซัดยะยุ่ง ซ้องหอกพุ่งยะย้าย ข้างซ้ายรบบ่มิคลา ข้างขวารบบ่มิแคล้ว
แกล้วแลแกล้วชิงข้า กล้าแลกล้าชิงขัน รุมกันพุ่งกันแทง เข้าต่อแย้งต่อยุทธี โห่อึงอุดเอาชัย
เสียงปืนไฟกึกก้อง สะเทือนท้องพสุธา หน้าไม้ดาปืนดาษ ธนูสาดศรแผลง แขงต่อแขงง่าง้าง
ช้างพะช้างชนกัน ม้าผกผันคลุกเคล้า เข้ารุกรวนทวนแทง ระแรงเร่งมาหนา ถึงพิมพิสาครราช
พระบาทขาดคอช้าง ขุนพลคว้างขวางรบ กันพระศพกษัตริย์ หนีเมื้อเมืองท่านไธ้ ครั้นพระศพเข้าได้
ลั่นเขื่อนให้หับทวาร ท่านนา
ถอดความ
พอพระเจ้าพิมพิสาคร รู้ข่าวศึก ว่าท้าวแมนสรวงยกทัพมา ก็สั่งทหารออกรบพุ่งทหารทั้งสองฝ่ายตะลุมบอนกันอย่างดุเดือด ทั้งตาว ดาบ หอกซัด หน้าไม้ ปืนไฟ ธนู ทวน จนสุดท้ายพระเจ้าพิมพิสาคร ขาดคอช้าง เหล่าทหารช่วยกันกันพระศพหนีเข้าเมือง แล้วปิดประตูรักษาเมืองไว้
รูปแบบการประพันธ์หรือฉันทลักษณ์ในการแต่ง
เป็นร่ายจำนวน ๑ บท ถูกต้องตามฉันทลักษณ์
ธรรมเนียมนิยมในการแต่ง
๑. การสัมผัสอักษร สัมผัสสระ เพื่อความไพเราะ การแต่งโคลง และร่ายมีลักษณะคล้ายกันครับ
สัมผัสอักษร
นรินทร-ราชา ภูมินทร์-แมนสรวง ตับ-ตาม พระบาท-บ่มิช้า พล-พะ
ฉะ-ฉาด ฉะ-ฉัด ซ้อง-ซัด ยะ-ยุ่ง ยะ-ย้าย
ข้าง-ขวา แกล้ว-แกล้ว กล้า-กล้า กัน-กัน ต่อ-ต่อ
อึง-อุด-เอา กึก-ก้อง สะเทือน-ท้อง ดา-ดาษ สาด-ศร
แขง-แขง ง่า-ง้าง ช้าง-ช้าง-ชน ผก-ผัน คลุก-เคล้า รุก-รวน ทวน-แทง ระ-แรง-เร่ง พิม-พิสาครราช เมื้อ-เมือง
สัมผัสสระ
ราชา-สา ราช-บาท ยิน-ภูมินทร์ แมนสรวง-หลวง กระทั่ง-สั่ง
รับ-ตับตาม เดียรดาษ-บาท ช้า-หน้า กัน-ฟัน ฉะฉาด-ฟาด
ฉะฉัด-ซัด ยะยุ่ง-พุ่ง ยะย้าย-ซ้าย คลา-ขวา แคล้ว-แกล้วแลแกล้วชิงข้า-กล้า-กล้า ขัน-กัน แทง-แย้ง ชัย-ไฟ กึกก้อง-ท้อง
พสุธา-หน้าไม้ ดาษ-สาด แผลง-แขง ง่าง้าง-ช้างพะช้าง กัน-ผัน
คลุกเคล้า-เข้า แทง-แรงเร่ง หนา-สา ราช-บาด-ขาด ช้าง-คว้าง-ขวาง
รบ-ศพ ไธ้-ได้
๒. การเลือกใช้คำประพันธ์
๒.๑ เลือกคำที่มีเสียงเสนาะ แฝงลีลา จังหวะอ่อนเนิบ นิ่มนวล หรือเร่งเร้า รุนแรง เช่น อุเหม่
เร่งเร้า รุนแรง
พะกัน ฉะฉาด ฟาดฉะฉัด ซัดยะยุ่ง พุ่งยะย้าย รุม พุ่งแทง อึงอุด
กึกก้อง สะเทือน ดาดาษ สาด แขงง่าง้าง ช้างพะช้าง ชนกัน
ผกผัน คลุกเคล้า รุกรวน ทวนแทง ระแรงเร่ง
๒.๒ การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น ออดแอดแอดออดยอดไกว
ฉะฉาด ฉะฉัด
๒.๓ การใช้คำอัพภาส เช่น ริก เป็นระริก ยิ้ม เป็น ยะยิ้ม แย้ม เป็น ยะแย้ม
ฉะฉาด ฉะฉัด ยะยุ่ง ยะย้าย ระแรง
๒.๔ การเล่นเสียงวรรณยุกต์ ไล่ระดับมีความไพเราะคล้ายเสียงดนตรี
ท่านไธ้
๓. กวีโวหารและสำนวนโวหาร
การกล่าวเท็จ หรือพูดเกินจริง เช่น “เรียมร่ำน้ำเนตรท่วม ถึงพรหม” หมายถึงร้องไห้จนน้ำตาท่วมสวรรค์
เสียงปืนไฟกึกก้อง สะเทือนท้องพสุธา หมายถึงเสียงปืนดังไปถึงบาดาล (ท้องพสุธา)
๔. สารประโยชน์อันเป็นผลพลอยได้ที่ได้รับจากวรรณกรรม นอกเหนือจากความบันเทิงใจ
๑. แนวคิดและค่านิยมที่เป็นประโยชน์ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
สงครามสิ้นสุดลงเมื่อแม่ทัพเสียทีข้าศึก
๒. สาระ หลักฐานความเป็นจริง อาทิ ทัศนคติ ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ
การทำสงครามสมัยโบราณ มักประจัญบานแบบประชิดตัว การชนช้างระหว่างกษัตริย์ ถือเป็นการรบที่มีพระเกียรติสูงสุด
ลิลิตพระลอ เป็นยอดแห่งวรรณคดีประเภทลิลิต เป็นเรื่องราวของโศกนาฏกรรมแห่งความรัก ระหว่างพระลอ และพระเพื่อนพระแพง
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ตอนที่ ๓ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ตอนที่ ๓ แสดงบทความทั้งหมด
วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556
ตอนที่ ๓ บทที่ ๘ พิมพิสาครขาดคอช้าง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)